บันทึกอนุทินครั้ง 12

วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2558

                                         วิชา
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

          
 
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
                วัน/เดือน/ปี  23  มีนาคม  2558  ครั้งที่ 12
               เวลาเข้าสอน  14.00 น. เวลาเรียน 14.10  น.
     เวลาเลิกเรียน 17.30 น.  


กิจกรรมภายในวันนี้

เนื้อหาและความรู้ที่ได้รับ

      วันนี้   สอบเพื่อวัดความรู้เดิม จากที่เรียนมาของรายวิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ  เพื่อจะเป็นแนวทางในการสอนเด็กพิเศษ เน้นความรู้ความจำในการดูแลเด็กและการช่วยเหลือเด็กได้


ประเมินตนเอง

        อ่านและทำข้อสอบอย่างสงบ  แต่งกายเรียบร้อย มาทันเวลาที่สอบ ตั้งใจทำข้อสอบ 

ประเมินเพื่อนๆ

       เพื่อนๆนั่งสอบอย่างสงบ เรียบร้อย  ไม่ลอกกันต่างคนต่างตั้งใจทำข้อสอบของตัวเอง


ประเมินอาจารย์ 

  อาจารย์ติดธุระจึงให้อาจารย์ สาขามาคลุมสอบแทน อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย ดูแลนักศึกษาในช่วงสอบได้อย่างเรียบร้อย












บันทึกอนุทินครั้งที่11

วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2558

                                                วิชา
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

          
   
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
                วัน/เดือน/ปี  17  มีนาคม  2558  ครั้งที่ 11
               เวลาเข้าสอน  14.00 น. เวลาเรียน 14.10  น.
     เวลาเลิกเรียน 17.30 น.  


กิจกรรมภายในวันนี้

เนื้อหาและความรู้ที่ได้รับ

     วันนี้อาจารย์ แจกสีไม้ให้คนละ 1 กล่อง และแจกแผ่นเพลงให้คนละ 1 แผ่นเพื่อที่จะได้ไปฝึกร้อง และอาจารย์ก็พาทำกิจกรรมเร้าความสนใจ ก่อนเข้าเรียน  และ สอนเรื่องการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ ตอน ทักษะการช่วยเหลือตนเอง

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

3.ทักษะการช่วยเหลือตนเอง

       เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด การกินอยู่ การเข้าห้องน้ำ การแต่งตัว กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน

การสร้างความอิสระ


     -เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
     -อยากทำงานตามความสามารถ

     -เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
-การได้ทำด้วยตนเอง
-เชื่อมั่นในตนเอง
-เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
หัดให้เด็กทำเอง

-ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)

-ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป

-ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ

-“ หนูทำช้า ”  “ หนูยังทำไม่ได้ ” 
จะช่วยเมื่อไหร่

-เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย

-หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว

-เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ

-มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 2-3 ปี)







ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง

-แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ 
-เรียงลำดับตามขั้นตอน

การเข้าส้วม

-เข้าไปในห้องส้วม
-ดึงกางเกงลงมา
-ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
-ปัสสาวะหรืออุจจาระ
-ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
-ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
-กดชักโครกหรือตักน้ำราด
-ดึงกางเกงขึ้น
-ล้างมือ
-เช็ดมือ
-เดินออกจากห้องส้วม

การวางแผนทีละขั้น

-แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด



สรุป

-ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
-ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
-ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
-ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
-เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ

กิจกรรมบำบัด
           อาจารย์แจกอุปกรณ์ กระดาษและสีเเล้วให้ระบายจุดตรงกลางและวนไปรอบๆเรื่อยๆแล้วแต่ความถี่ ความกว้างของแต่ละคน พอเสร็จแล้วก็ตัดกระดาษตามรูปวงกลม




ตัดกระดาษ






อาจารย์ให้นำรูปที่ตัดแล้วมาติดรวมกันเป็นต้นไม้
ต้นไม้แห่งจิตใจ


 ภาพที่สำเร็จ




กิจกรรม วงกลมจิตใจ
คือ  การแสดงถึงความรู้สึกนึกคิดของแต่ละคนจากการระบายสีและความกว้างความถี่ของวงกลม 
จุดที่สีอ่อนๆ คือ จิตใจที่อ่อนโยน
จุดที่เข้มๆ คือ เก็บกดในใจ 
ระบายกว้างๆ คือ ความเอื้อเฟื้อ มีเมตตา
ระบายแคบๆ คือ คิดเล็ก คิดน้อย 



         อาจารย์ให้นำรูปที่ตัดแล้วมาติดรวมกันเป็นต้นไม้
ต้นไม้แห่งจิตใจ



ประโยชน์จากการจัดกิจกรรม

-ฝึกสมาธิ
-มิติสัมพันธ์
-ความรู้สึกของเด็ก
-จินตนาการความคิดสร้างสรรค์



                              เพลง นกกระจิบ

นั่นนก บินมาลิบลิบ
นกกระจิบ 1  2  3  4  5
อีกฝูงบินล่องลอยมา  6 7 8 9 10 ตัว

เพลง เที่ยวท้องนา 

ฉันท่องเที่ยวไป
ผ่านตามท้องไร้ท้องนา
เห็นฝูงวัวกินหญ้า 1 2  3  4  5  ตัว
หลงเที่ยวเพลิดเพลิน
ฉันเดินพบอีกฝูงวัว
นับนับดูจนทั่ว 6 7 8 9 10 ตัว

เพลง  แม่ไก่ออกไข่

แม่ไก่ออกไข่วันละฝอง
ไข่วันละฟอง  ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน
1 วันได้ไข่  1ฟอง

เพลง  ลูกแมวสิบตัว

ลูกแมว 10 ตัวที่ฉันเลี้ยงไว้
น้องขอให้แบ่งไป 1 ตัว
ลูกแมว 10 ตัวก็เหลือน้อยลงไป
นับดูใหม่เหลือลูกแมว 9 ตัว

เพลง ลุงมาชาวนา

ลุงมาชาวนาเลี้ยงวัว เลี้ยงควาย
เอาไว้ใช้ไถนา
ลุงมาชาวนาเลี้ยงหมา เลี้ยงแมว
ไว้เป็นเพื่อนลุงมา
หมาก็เห่า บ๊อก  บ๊อก
แมวก็ร้อง  เมี๊ยว  เมี๊ยว
ลุงมาไถนา วัวร้อง มอ มอ

(ซ้ำ *)


                                            ผู้แต่ง อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
                                              เรียบเรียง  อ.ตฤณ  แจ่มถิน


ประเมินตนเอง

แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์ แล้วทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนได้อย่างมีความสุข หัวเราะ ยิ้มแย้ม   ร่าเริง กับอาจารย์และเพื่อนๆ แต่พูดบ่อยไปนิดนึง

ประเมินเพื่อนๆ

เพื่อนๆแต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียนดี ฟังอาจารย์ ยิ้มแย้มร่าเริง ตลกกันดี และร่วมกันแสดงความคิดเห็นถึงเรื่องต่างๆได้ดี ทำกิจกรรมร่วมกันได้อย่างมีความสุข

ประเมินอาจารย์ 

อาจารย์น่ารัก แต่งกายเรียบร้อย  พูดจาอ่อนหวาน สุภาพพาทำกิจกรรมที่สนุกสนาน  และแสดงบทบาทได้เหมือนมากๆ ชอบหาอะไรที่ใหม่ๆและความรู้ต่างๆมาทำในห้องเรียนเสมอๆ











บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2558

                                           วิชา
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

          
     
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
                วัน/เดือน/ปี   10 มีนาคม  2558  ครั้งที่ 10
               เวลาเข้าสอน  08.40 น. เวลาเรียน 09.00  น.
     เวลาเลิกเรียน   11.30 น.


กิจกรรมภายในวันนี้

เนื้อหาและความรู้ที่ได้รับ

   วันนี้อาจารย์สอน 2 เซค พร้อมกันเพราะอาจารย์ติดธุระ จึงให้เซคบ่ายมาเรียนตอนเช้าพร้อมกัน วันนี้ก่อนเรียนอาจารย์ได้พูดถึงการสอบบรรจุ  ประสบการณ์ของรุ่นพี่ที่สอบ และทำกิจกรรมก่อนเรียน ต่อจากนั้นก็เรียนเกี่ยวกับ การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ คือ ทักษะภาษา

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

 2.ทักษะทางภาษา 



     การวัดความสามารถทางภาษา

           -เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
           -ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
           -ถามหาสิ่งต่างๆไหม
          -บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม

          -ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม

การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
       -การพูดตกหล่น
       -การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง

       -ติดอ่าง

การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่

      -ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
      -ห้ามบอกเด็กว่า  “พูดช้าๆ”   “ตามสบาย”   “คิดก่อนพูด”
      -อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
      -อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
      -ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น

      -เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน

ทักษะพื้นฐานทางภาษา

    -ทักษะการรับรู้ภาษา
   -การแสดงออกทางภาษา
   -การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด

พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา
เด็กตอบสนองต่อสิ่งเหล่านี้หรือไม่           ใช่        ไม่ใช่         บางครั้ง
- เสียงของครูโดยการหันมามอง
- ต่อคำถาม “จะเอาอะไร” ด้วยการชี้
- ต่อประโยค “ช่วยเอาให้ที”
- “หา…ให้หน่อย” เมื่อครูไม่มีท่าประกอบ
- “จะเอานี่ใช่ไหม” โดยการพยักหน้า
- กับคำพูด
- “หนูอยากได้อะไร” ด้วยการพูด 
- “เล่าให้ครูฟังซิ” โดยพูดเป็นประโยค
- “ใช้ทำอะไร” โดยตอบเป็นวลี หรือประโยค







      เด็กเริ่มทำโดย                                                  ใช่        ไม่ใช่         บางครั้ง

- ทำเสียงต่างๆผสมปนเปกัน

- ทำเสียงคล้ายพูดเพื่อเรียกร้องความสนใจ

- ใช้เสียงสูงต่ำเหมือนจะถามคำถาม


- ชี้ไปยังสิ่งที่ต้องการจะเอา

- ขอสิ่งต่างๆโดยการบอกชื่อ

- พูดเป็นวลีที่มีเสียงคล้ายคำ

- เล่าเรื่องที่เห็นโดยใช้วลีที่มี 2-3 คำ

- เล่าได้ว่าเกิดอะไรขึ้น

- บอกได้ว่าอะไรอยู่ที่ไหน

- บอกเล่าโดยใช้คำคุณศัพท์

- ตั้งคำถาม “ทำไม”

-เล่าเรื่องโดยใช้ประโยคที่มีคำเชื่อมกัน

-ตั้งคำถาม “อย่างไร”

** ครูจะสังเกตและบันทึกพฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา คือ ใช่ ไม่ใช้ บางครั้ง

ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย

   -การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
   -ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
   -ให้เวลาเด็กได้พูด
   -คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
   -เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
   -เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
   -ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
   -กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
   -เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
   -ใช้คำถามปลายเปิด
   -เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
   -ร่วมกิจกรรมกับเด็ก

การสอนตามเหตุการณ์ (Incidental Teaching)





   การสอนตามเหตุการณ์ คือการให้เด็กได้ลงมือทำและสอนตามสถานการณ์ที่เป็นอยู่ เช่นในภาพคือเด็ก กำลังติดกระดุมก็ให้เด็กลองทำให้พยายามทำไปก่อน ทำได้ไม่ได้ครูต้องเป็นคนดูแล

VDO ที่อาจารย์พาดู

                        

post test
    ครูสามารถส่งเสริมทักษะทางภาษาในห้องเรียนรวมได้อย่างไร
         -การใช้สื่อประกอบ
         -การทำกิจกรรมรวมกันกับเพื่อน
         -การบอกเล่าเหตุการณ์แต่ละวัน
         -คำศัพท์ต่างๆภายในห้อง
        -คำคล้องจอง

   กิจกรรม บำบัด

      อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม 2 คน วาดเส้นตรง ตามเสียงเพลง เพลงหยุดก็หยุดขีด หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้ระบายสีทับตรง เส้นที่วาด คือ ช่องที่ปิด 

                                           อุปกรณ์



ภาพที่วาดเป็นเส้นตรง

                     

ภาพที่สำเร็จ


 ประโยชน์จากการทำกิจกรรม
   -การฝึกสมาธิ
   -การทำงานกับเพื่อน
   -การประสานระหว่างมือและตา
   -การสังเกต รายละเอียด

ความรู้ที่สามารถนำไปใช้
     การเตรียมตัวและรู้การวางแผนในการเตรียมตัวเป็นครูที่ดี และจัดกิจกรรมบำบัดเด็กในการมีส่วนรวมกับเพื่อน การส่งเสริมทักษะทางสังคมของเด็กได้ทางกิจกรรม


 
 ประเมินตนเอง
       แต่งกายเรียบร้อย นั่งด้านหลัง ไม่ค่อยมีสมาธิ คุยกับเพื่อนบ่อยไป ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนได้และเสร็จทันเวลา ยิ้มแย้มแจ่มใส จดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติมได้ทัน


ประเมินเพื่อนๆ


    เพื่อนๆแต่งกายเรียบร้อย บางคนก็มาช้า มาคนก็มาเร็ว เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์เป็นอย่างดี หัวเราะ ร่าเริง ยิ้มแย้มกันตลอดเวลา การทำกิจกรรมก็ตั้งใจทำและไม่เสียงดัง



ประเมินอาจารย์

    อาจารย์เข้าห้องก่อนเวลา แต่งกายเรียบร้อย การสอนของอาจารย์ทำให้นักศึกษาเข้าใจเพราะอาจารย์ชอบยกตัวอย่างที่ชัดเจน ความรู้หรือประสบการณ์ที่ผ่านมาชอบเอามาเล่าให้ฟัง อาจารย์ชอบให้ความรู้ไม่ว่าจะเรื่องเรียน และอื่นๆรอบตัวเรา




















บันทึกอนุทินครั้งที่9

วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2558

                                       วิชา
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

          
       
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
                วัน/เดือน/ปี   3 มีนาคม  2558  ครั้งที่ 9
               เวลาเข้าสอน  14.00 น. เวลาเรียน 14.10  น.
     เวลาเลิกเรียน   17.30 น.


กิจกรรมภายในวันนี้

เนื้อหาและความรู้ที่ได้รับ

         วันนี้ก่อนเรียนอาจารย์ นำแบบทดสอบของประเทศญี่ปุ่นมาให้ทดลองเล่นเพื่อทายลักษณะนิสัย ของแต่ละคน เพื่อเป็นการกระตุ้นความสนใจก่อนเรียน


การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

1. ทักษะทางสังคม
        -เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่

        -การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข

 กิจกรรมการเล่น
-การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
-เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
-ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน  แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
ยุทธศาสตร์การสอน

          - เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
          -ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
          -จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
          -ครูจดบันทึก
          -ทำแผน IEP

การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง

       -วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
       -คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
       -ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
       -เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน “ครู” ให้เด็กพิเศษ

ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น

      -อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
      -ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
      -ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
      -เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
      -ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม




จากภาพ  การให้เล่นทราย โดยนำของมาให้ทีละชิ้น
      -เพื่อยืดเวลา       -เร้าความสนใจ
      -การเล่นหลากหลาย

ประโยชน์ คือ  การให้เด็กได้อยู่กับเพื่อนได้นานๆเกิดทักษะทางสังคม เด็กเกิดสมาธิ

การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น

       -ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
       -ทำโดย “การพูดนำของครู”




จากภาพ  เด็กไม่กล้าเข้าไปเล่นกับเพื่อน
บทบาทของครู 
     -การจับมือเข้ามาในกลุ่มของเพื่อน
     -ครูหาอุปกรณ์ให้เด็กพิเศษเพื่อเข้ามาในกลุ่ม
     -การเชื่อมโยงให้เป็นเกม

ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์

      -ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
      -การให้โอกาสเด็ก
      -เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง

      -ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง


post test
   1.ครูสามารถส่งเสริมทักษะทางสังคมในห้องเรียนรวมได้อย่างไรบ้าง
        -ให้เด็กปกติเป็นผู้นำ ผู้ดูแลเด็กพิเศษ
        -การมีสื่ออุปกรณ์ที่สามารถเล่นรวมกันได้
        -การพูดชักนำ
        -การมีสิทธิเท่าเทียมกันระหว่างเด็กพิเศษและเด็กปกติ

กิจกรรม เพลงเด็กปฐมวัย
   


   เพลง ดวงอาทิตย์
ยามเช้าตรูอาทิตย์ทอแสงทอง
เป็นประกายเรืองรอง ผ่องนภา
ส่องสว่างไปทั่วแหล่งหล้า บ่งเวลาว่ากลางวัน



เพลง ดวงจันทร์
ดวงจันทร์ทอแสงนวลใย
สุกใสอยู่ในท้องฟ้า
เราเห็นดวงจันทรา
แสงพราวตาเวลาค่ำคืน


เพลง ดอกมะลิ
ดอกมะลิ กลีบขาวพราวตา
เก็บเอามาร้อยเป็นมาลัย
บูชาพระทั้งใช้ทำยาก็ได้

เพลงกุหลาบ
กุหลาบงาม ก้านหนามแหลมคม
จะเด็ดดมระวังกายา
งามสดสีสมเป็นดอกไม้มีค่า
เก็บเอามาประดับไว้ในแจกัน

เพลง นกเขาขัน
ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
                               ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู

เพลง รำวงดอกมะลิ
รำวง รำวง ร่วมใจ
หอมดอกมะลิที่ร้อยมาลัย
กลิ่นหอมตามลมไปไกล
หอมกลิ่นชื่นใจ จริงเอย

                                                   ผู้แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
                                               
                                                   เรียบเรียง อ.ตฤณ  แจ่มถิ่น

   หลังจากที่ทำกิจกรรมร้องเพลงเสร็จ ก็ทำกิจกรรมต่อไปคือ กิจกรรมบำบัด จับคู่ 2 หรือ 3คน คนหนึ่งลากเส้นและคนหนึ่งทำจุด กลุ่มดิฉันมี3คน จึงมีคนลากเส้น 2คน อีกคนหนึ่งทำจุดตาม  โดยเปิดเพลงเบาๆในการลากเส้น

                                        อุปกรณ์



                          กระดาษ แผ่นใหญ่และสีเทียน

                                    ผลงานกลุ่มเรา





         หลังจากที่เพลงหยุด ก็ต้องหยุดตามเพลงและต่อจากนั้น อาจารย์ก็ให้สังเกตภาพที่วาดออกมาว่าเป็นภาพอะไร

ภาพที่ออกมา


                           ภาพทีออกมาคือ ภาพเป็ดกินน้ำ 


                                    ผลงานที่สมบูรณ์





 ผลงานของเพื่อนๆ




กิจกรรมนี้ส่งเสริม
    -ด้านความคิดสร้างสรรค์
    -ฝึกสมาธิ
    -การเล่นร่วมกันกับเพื่อน
   -การรอช่วงจังหวะ ช่วงทำนองเพลง
   -การกระตุ้นความสนใจ

ความรู้ที่สามารถนำไปใช้
   การเร้าความสนใจก่อนเรียน การร้องเพลงที่นำมาใช้ในการเก็บเด็กได้ และ กิจกรรมวาดเส้นและจุดตาม สามารถนำไปใช้กับเด็กได้เพื่อให้เด็กเกิดสมาธิและสนใจในสิ่งนั้นๆ

      
ประเมินตนเอง

       แต่งกายเรียบร้อย มาก่อนเวลาตั้งใจฟังอาจารย์สอน ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนได้ ยิ้มแย้มแจ่มใส และเสร็จก่อนเพื่อนแต่ละกลุ่ม จดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติมได้ทัน




ประเมินเพื่อนๆ

 เพื่อนๆแต่งกายเรียบร้อย ทุกคนตั้งใจเรียนและพูดคุยกับอาจารย์ถึงช่วงเนื้อหาที่ไม่เข้าใจ จนได้คำตอบที่ชัดเจน เพื่อนทำกิจกรรมกันอย่างหัวเราะร่าเริง ทุกคนมีความสุขจากร้อยยิ้มและการทำกิจกรรม      

  



ประเมินอาจารย์
อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย สอนเนื้อหาให้นักศึกษาอย่างเข้าใจ อาจารย์ยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพ อาจารย์ชอบหาสิ่งที่มากระตุ้นหรือเร้าความสนใจนักศึกษาเสมอ  และพาร้องเพลงอย่างสนุกสนาน อาจารย์ยิ้มตลอดเวลา พูดจาไพเราะ สุภาพเรียบร้อย