บันทึกอนุทินครั้งที่8

วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558


                                          วิชา
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

          
         
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
                วัน/เดือน/ปี  24 กุมภาพันธ์  2558  ครั้งที่ 8
               เวลาเข้าสอน  14.00 น. เวลาเรียน 14.10  น.
     เวลาเลิกเรียน   17.30 น.


ช่วงสอบกลางภาค Mid Team จึงไม่มีการเรียนการสอน




บันทึกอนุทินครั้งที่7

วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

                                          วิชา
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

          
           
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
                วัน/เดือน/ปี  17 กุมภาพันธ์  2558  ครั้งที่ 7
               เวลาเข้าสอน  14.00 น. เวลาเรียน 14.10  น.
     เวลาเลิกเรียน   17.30 น.

กิจกรรมภายในวันนี้

เนื้อหาและความรู้ที่ได้รับ
     วันนี้อาจารย์ให้จัดรูปเป็นตัวยูสอนเรื่อง การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ อาจารย์จะสอนให้ทันเวลาเพราะเนื้อหาเยอะมาก

ทักษะของครูและทัศนคติ
     
     การฝึกเพิ่มเติม
       •อบรมระยะสั้น , สัมมนา
       •สื่อต่างๆ

   การเข้าใจภาวะปกติ
•เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง
•ครูต้องเรียนรู้ , มีปฎิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ
•รู้จักเด็กแต่ละคน
•มองเด็กให้เป็น “เด็ก”

การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า

-การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย


ความพร้อมของเด็ก
      -วุฒิภาวะ
      -แรงจูงใจ
      -โอกาส

การสอนโดยบังเอิญ
      -ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม
      -เด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่ยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น 
- ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก
- ครูต้องมีความสนใจเด็ก
- ครูต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก
- ครูต้องมีอุปกรณ์และกิจกรรมล่อใจเด็ก
- ครูต้องมีความตั้งใจจริงในการช่วยให้เด็กแต่ละคนได้เรียนรู้
- ครูต้องใช้เวลาในการติดต่อไม่นาน
- ครูต้องทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน

อุปกรณ์
-มีลักษณะง่ายๆ
-ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
-เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
-เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ

ตารางประจำวัน
•เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ
•กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได้
•เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ
•การสลับกิจกรรมที่อยู่เงียบๆกับกิจกรรมที่เคลื่อนไหวมากๆ
•คำนึงถึงความพอเหมาะของเวลา
ทัศนคติของครู
     
     ความยืดหยุ่น
 -การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
 -ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก
 -ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน
การใช้สหวิทยาการ
-ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ
-สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน

การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้
  เด็กทุกคนสอนได้

-เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ

-เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส

เทคนิคการให้แรงเสริมแรงเสริม
        ทางสังคมจากผู้ใหญ่
-ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก
-มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก และมักเป็นผลในทันที
-หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆก็จะลดลงและหายไป
วิธีการแสดงออกถึงแรงเสริมจากผู้ใหญ่
-ตอบสนองด้วยวาจา
-การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก
-พยักหน้ารับ ยิ้ม ฟัง
-สัมผัสทางกาย
-ให้ความช่วยเหลือ , ร่วมกิจกรรมกับเด็ก

หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
-ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์
-ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์
-ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์

การแนะนำหรือบอกบท (prompting)
-ย่อยงาน
-ลำดับความยากง่ายของงาน
-การลำดับงานเป็นการเสริมแรงเพื่อให้เด็กค่อยๆก้าวไปสู่ความสำเร็จ
-การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับ

ขั้นตอนการให้แรงเสริม
  -สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
  -วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละขั้น
สอนจากง่ายไปยาก
  -ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้ หรือเมื่อเด็กพยายามอย่างเหมาะสม
  -ลดการบอกบท เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวไปขั้นต่อไป
  -ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
  -ทีละขั้น ไม่เร่งรัด “ยิ่งขั้นเล็กเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น”
  -ไม่ดุหรือตี

การกำหนดเวลา
-จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม

ความต่อเนื่อง
   -พฤติกรรมทุกๆอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆ หลายๆอย่างรวมกัน
   -เช่น การเข้าห้องน้ำ การนอนพักผ่อน การหยิบและเก็บของ การกลับบ้าน
   -สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลัง

เด็กตักซุป
     -การจับช้อน
    -การตัก
    -การระวังไม่ให้น้ำในช้อนหกก่อนจะเข้าปาก
    -การเอาช้อนและซุปเข้าปากแทนที่จะทำให้หกรดคาง
    -การเอาซุปออกจากช้อนเข้าสู้ปาก
การลดหรือหยุดแรงเสริม
         -ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
         -ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
         -เอาอุปกรณ์หรือขอเล่นออกไปจากเด็ก
         -เอาเด็กออกจากการเล่น
 
   
ประเมินตนเอง

    แต่งกายเรียบร้อย มาถึงห้องเรียนเร็ว ตั้งใจฟังอาจารย์ในการสอน ดูเนื้อหาไปพร้อม power point ที่อาจารย์เปิดได้ทัน

ประเมินเพื่อนๆ
   
     วันนี้ทุกคนมานั่งรออาจารย์ มีความเตรียมพร้อมในการเรียน นักศึกษาแลกเปลี่ยนคำถาม-ตอบกับอาจารย์ หัวเราะสนุกสนาน ร่าเริงกันดี มีเพื่อนบางคนแต่งกายไม่ตรงตามที่ตกลงกันไว้

ประเมินอาจารย์

      อาจารย์แต่งกายสุภาพ อาจารย์เร่งที่จะสอนให้ทันเวลาเพราะเนื้อหาเยอะและนักศึกษามีประชุมต่อหลังคาบของอาจารย์ สอนเข้าใจ อธิบายได้อย่างเห็นภาพชัดเจน อาจารย์ร่าเริง ยิ้มแย้มตลอดเวลา






บันทึกอนุทินครั้งที่6

วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

                                            วิชา
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

          
             
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
                วัน/เดือน/ปี  10 กุมภาพันธ์  2558  ครั้งที่ 6
               เวลาเข้าสอน  14.00 น. เวลาเรียน 14.10  น.
     เวลาเลิกเรียน   17.30 น.

กิจกรรมภายในวันนี้

เนื้อหาและความรู้ที่ได้รับ

           วันนี้พวกเราจัดกิจกรรม เตรียมเซอร์ไพส์อาจารย์ อาจารย์นั่งรอสอนแต่นักศึกษาก็ไม่มาสักที อาจารย์เริ่มงอล แต่ไม่นานก็มีเสียง ร้องเพลงมาแต่ไกล เป็นเพลง เเฮปปี้เบิรด์เดย์ พวกเราเซอร์ไพส์วันเกิดอาจารย์ อาจารย์จะงอลจะยิ้มตอนนั้นบอกไม่ถูกเลยคงคิดน้อยใจนักศึกษาที่ปล่อยให้นั่งรอ พอเห็นเค้กและเสียงเพลง  อาจารย์ก็ยิ้ม คงไม่คิดว่าพวกเราจะมีความคิดที่เป็นสาระขนาดนี้  แต่พวกเรารักอาจารย์นะคะรวมตัวกันเพื่อที่จะรอไปอวยพรวันเกิดให้อาจารย์อย่างพร้อมน่าพร้อมตากัน 
        วันเกิด อาจารย์ปีนี้หนูขอให้อาจารย์มีสุขภาพแข็งแรง ใจดีน่ารักแบบนี้ตลอดไป เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของนักศึกษา อยู่สอนพวกเราไปนานๆนะคะ หวังว่าของขวัญวันเกิดอาจารย์จะชอบนะคะ

                               ภาพความประทับใจ











กิจกรรมการเรียนการสอน 

       อาจารย์แจกกระดาษคนละ 1 แผ่นและถุง มือคนละ 1 ข้าง ให้ใส่ถุงมือข้างที่ไม่ถนัด เล้ววาดภาพลงไปในกระดาษ วาดให้มีความเหมือนหรือคล้ายเคียงมากที่สุด ห้ามถอดถุงมือจนกว่าจะวาดเสร็จ การที่อาจารย์ให้วาดมือนั้นก็เพราะว่ามืออยู่กับเรามานาน ตั้ง 20 ปี เราจดจำลักษณะมือเราได้มากน้อยแค่ไหน วันๆเราใช้มือเราหยิบจับ หรือทำอะไรบาง เราสามารถที่จะวาดภาพนั้นออกมาได้เหมือนหรือเปล่า 
        เปรียบเสมือนครูที่ต้องดูแลเด็กตั้งหลายคน ครูไม่สามารถที่จะดูแลเด็กได้ทุกคนอาจจะจดจำได้เป็นบางช่วง บางขณะ  แต่การสังเกตและดูแลเด็กก็เป็นหน้าที่ของครู  ซึ่งในเด็กปฐมวัยนั้นยิ่งอยู่ในช่วงที่สำคัญมากที่สุด ครูต้องดูแลสังเกตและบันทึกพฤติกรรมของเด็ก ใส่ใจรายละเอียดของเด็กในทุกการกระทำ การจดบันทึกเป็นการแสดงผลว่าครูใส่ใจรายละเอียดและสังเกตเด็กได้อย่างแท้จริง










มือของหนู




กิจกรรมการร้องเพลง
     วันนี้อาจารย์สอนร้องเพลงและฝึกร้องไปพร้อมกัน 

                               เพลง  ฝึกการบริหาร
                      ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
                      ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
                        รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
                        รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว

                                   เพลง  ผลไม้

                           ส้มโอ  แตงโม  แตงไทย
                           ลิ้นจี้  ลำไย  องุ่น  พุทรา
                              เงาะ  ฝรั่ง  มังคุด
                           กล้วย  ละมุด น้อยหน่า
                           ขนุน  มะม่วง  นานาพันธุ์



                                 เพลง กินผักกัน

                                 กินผักกันเถอะเรา
                     บวบ  ถั่วฝักยาว  ผักกาดขาว  แตงกวา
                        คะน้า  กว้างตุง  ผักบุ้ง  โหรพา
                     มะเขือเทศสีดา  ฟักทอง  กะหล่ำปลี






                                      เพลง ดอกไม้

                          ดอกไม้ต่างพันธุ์  สวยงามสดสี
                          เหลือง  แดง ม่วงมี แสด ขาว ชมพู่


                                     เพลง จ้ำจี้ดอกไม้

                              จ้ำจี้ดอกไม้ ดาวเรือง หงอนไก่ 
                                   จำปี  จำปา  มะลิ พิกุล
                              กุหลาบ  ชบา  บานชื่น  กระดังงา
                              เข็ม  แก้ว  ลัดดา  เฟื่องฟ้า ราตรี 


                                               ผู้แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
                                               
                                               เรียบเรียง อ.ตฤณ  แจ่มถิ่น




ความรู้ที่สามารถนำไปใช้
    
     ฝึกการจำ การสังเกต การจดบันทึกพฤติกรรมของเด็กอย่างระเอียด การร้องเพลงที่นำมาใช้ในการเก็บเด็กได้

      

                     
ประเมินตนเอง

    วันนี้เซอร์ไพร์งานวันเกิดอาจารย์ก็มีของขวัญที่ตั้งใจทำให้อาจารย์หนูนั่งดู face book เพื่อเลือกรูปอาจารย์ เปิดดูทุกซอกทุกมุม อิอิ แต่ในที่สุดหนูก็คิดว่า ภาพที่หนูเลือและกรอบรูปที่ให้กับอาจารย์นั้น หวังว่าอาจารย์จะชอบและมีรอยยิ้มจากสิ่งที่หนูให้คะ   


ประเมินเพื่อนๆ
      
     เพื่อนๆ เตรียมความพร้อมกัน รอกันเป็นอย่างดีก่อนที่จะเข้าห้องเรียนพากันเดินมาพร้อมกันและปรึกษาหารื้อกันว่าใครจะไปต้นทางก่อน และพวกเราก็ มอบสิ่งพิเศษให้กับอาจารย์ พวกเรารักอาจารย์มากๆ ทุกคนร่วมกันสนุกสนาน หัวเราะกับการเต้นหน้าห้อง ของเพื่อนที่ออกไปเต้นและร้องเพลงและร่วมกันกินเค้กอย่างอร่อย 

ประเมินอาจารย์

      อาจารย์แต่งกายสุภาพ อาจารย์มีความสุขจากการยิ้ม สีหน้าท่าทางประทับใจและบอกว่า "พวกเราน่ารักจังเลย ขอบใจนักศึกษาทุกๆคนมากที่เซอร์ไพร์งานวันเกิด  " อาจารย์มีความสุข จากสิ่งที่พวกเรามอบให้ 


















บันทึกอนุทินครั้งที่5

วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

                                           วิชา
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

          
               
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
                วัน/เดือน/ปี  3 กุมภาพันธ์  2558  ครั้งที่ 5
               เวลาเข้าสอน  14.00 น. เวลาเรียน 14.10  น.
     เวลาเลิกเรียน   17.30 น.

กิจกรรมภายในวันนี้

เนื้อหาและความรู้ที่ได้รับ
         วันนี้อาจารย์ งดการเรียนการสอนเพราะอาจารย์ ติดธุระ จึงเลื่อนไปสอนเพิ่มเติมในคาบหน้า



          

บันทึกอนุทินครั้งที่4

                                         วิชา
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

          
                 
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
                วัน/เดือน/ปี   27 มกราคม  2558  ครั้งที่ 4
               เวลาเข้าสอน  14.00 น. เวลาเรียน 14.10  น.
     เวลาเลิกเรียน   17.30 น.

กิจกรรมภายในวันนี้

เนื้อหาและความรู้ที่ได้รับ

     วันนี้อาจารย์เข้ามาก็ให้จัดโต๊ะเป็นรูปตัว  u และถอดรองเท้าไว้หน้าห้องอย่างเป็นระเบียบอาจารย์ก็สอน เรื่องการจัดประสบการณ์
การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัยและบทบาทครูปฐมวัย ในห้องเรียนรวม


บทเนื้อหา


เนื้อหา  เรื่อง การจัดประสบการณ์
การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

      รูปแบบการจัดการศึกษา

    -การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
    -การศึกษาพิเศษ (Special Education)
    -การศึกษาแบบเรียนร่วม  (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
    -การศึกษาแบบเรียนรวม  (Inclusive Education


การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 

     เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
     การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวันครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน


การเรียนร่วมบางเวลา (Integration) 

       การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลาเด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ  เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้ 

การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming) 
      การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียนเด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง ท่ามกลางความแตกต่างกัน มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน


ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
    -การศึกษาสำหรับทุกคน
    -รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา 
    -จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล

Wilson , 2007
 -การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก
-การสอนที่ดีเป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
-กิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี (Good Teaching) ต้องคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้ 
-เป็นการกำหนดทางเลือกหลายๆ ทาง
                       

         "Inclusive Education is Education for all, It involves receiving people at the beginning of their education, with provision of additional services needed by each individual"

สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม

      เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล

เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
       เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาสำหรับทุกคน(Education for All)
การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็น   เด็กปกติ หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 
       เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก
เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้ และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ “รวมกัน” ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน 

       ทุกคนยอมรับว่ามี ผู้พิการ อยู่ในสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกติ โดยไม่มีการแบ่งแยก



ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวม สำหรับเด็กปฐมวัย
     ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้  “สอนได้”
เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด



                 เนื้อหา เรื่อง  บทบาทครูปฐมวัย ในห้องเรียนรวม

ครูไม่ควรวินิจฉัย

   การวินิจฉัย หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่างจากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้

ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก

    -เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
    -ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป

    -เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ

ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ

   -พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
   -พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
   -ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิด      ความหวังผิดๆ
   -ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้

   -ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา

ครูทำอะไรบ้าง

    -ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
    -ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
     -สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
     -จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ


สังเกตอย่างมีระบบ

    -ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
    -ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆ ช่วงเวลายาวนานกว่า

    -ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา


แบบสังเกตของครู







การตรวจสอบ
    -จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
    -เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น

    -บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ

ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
   -ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้ 
   -ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้   
   -พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป

การบันทึกการสังเกต
    •การนับอย่างง่ายๆ
    •การบันทึกต่อเนื่อง

    •การบันทึกไม่ต่อเนื่อ

การนับอย่างง่ายๆ
    •นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
    •กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง

    •ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
การบันทึกต่อเนื่อง
•ให้รายละเอียดได้มาก
•เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง
•โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ

การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
    •บันทึกลงบัตรเล็กๆ

    •เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง
การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
    •ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่อง มากกว่าชนิดองความบกพร่อง

    •พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ
การตัดสินใจ
      •ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
      •พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่


ความรู้ที่สามารถนำไปใช้
    
     ได้ความรู้ถึงความแตกต่างระหว่างการเรียนรวมและการเรียนร่วม ซึงการเรียนร่วมคือ ไม่ได้พามาแต่แรกครูการศึกษาพามา ครูการศึกษาพิเศษจะมารับกลับ ซึ่งครูการศึกษาพิเศษจะเป็นผู้ดูแล 
การเรียนรวม ได้รับการดูแลของพ่อแม่และครูสถานะเหมือนเด็กปกติทั่วไป ซึ่งตรงนี้เราจะแยกแยะได้และเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน การวางตัวของบทบาทครูปฐมวัย ต้องรู้จักการสังเกตเด็ก ต้องยอมรับและตั้งรับสถานณการณ์ที่เกิดขึ้นกับเด็กปกติ และเด็กปฐมวัย การที่ครูให้เด็กปกติได้เล่นกับเด็กพิเศษจะเป็นการเสริมกำลังใจและการอยู่ร่วมกันในสังคมกับเด็กพิเศษได้เป็นอย่างดี

      วันนี้อาจารยให้วาดภาพ ดอกชบา ซึ่งเป็นการสังเกตจากภาพเหมือนและบรรยายใต้ภาพที่เห็น


                                          ผลงาน

                        
        ดอกชบา เป็นดอกไม้ที่สวย สีเจิดจ้า แดงอร่าม เกสรที่สวยงามเปรียบเสมือนความบริสุทธ์ ของความดี


ประเมินตนเอง

     เข้าห้องเรียนก่อนเวลาและจัดโต๊ะเป็นรูปตัว u แต่งกายชุดเอกสีชมพู เข้าใจข้อตกลงร่วมกันภายในห้อง พูดบ่อย ในบางครั้งก็ฟังเนื้อหาที่อาจารย์สอนไม่ทันเพราะคุยกับเพื่อน

ประเมินเพื่อนๆ
      
     เพื่อนๆ ร่าเริงแจ่มใส  สนใจเรียนและมีชีสเอกสารประกอบทุกคนฟังอาจารย์ดี เพื่อนบางคนก็พูดบ่อย แลกเปลี่ยนคำถามกับอาจารย์บ่อย

ประเมินอาจารย์

      อาจารย์แต่งกายสุภาพ อาจารย์อารมณ์ดี ยิ้มแย้มแจ่มใสตลอดเวลา อาจารย์สอนและมีตัวอย่างเนื้อหามาให้ดูในแบบสังเกตเด็ก ได้อย่างเข้าใจ 

ความรู้เพิ่มเติม/ข้อเสนอแนะ
     ในสมัยก่อนการศึกษาปกติทั่วไปโดยเด็กปกติเรียนแต่เด็กพิเศษกลับไม่ได้เรียนเพราะไม่มีคนยอมรับในตัวเด็ก จึงซุกซ่อนอยู่ที่บ้าน