บันทึกอนุทินครั้งที่18

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558


                                           วิชา
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

          

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
                วัน/เดือน/ปี  2  เมษายน  2558  ครั้งที่ 18
               เวลาเข้าสอน  -    เวลาเรียน -
     เวลาเลิกเรียน -  


กิจกรรมภายในวันนี้

เนื้อหาและความรู้ที่ได้รับ

    วันนี้อาจารย์นัดสอบ ร้องเพลง เพราะวัน เวลาที่อาจารย์กำหนดไม่สามารถมาตามนัดได้เพราะติดธุระทางบ้านที่ต่างจังหวัดจึงขอนัดสอบวันนี้แทน

วันนี้ได้จับฉลาก  แล้วร้องเพลงที่จับฉลากได้

คะแนนการร้องเพลงเต็ม  5 
    กฏกติกาการร้องเพลง คือ
   1 ถ้าร้องเพลงโดยดูเนื้อร้องจะหัก 1 คะเเนน
   2 ถ้าร้องไม่ดูเนื้อร้องและถูกต้องตามทำนองก็ได้คะแนนเต็ม5

วันนี้สอบร้อง  เพลง  พี่น้องกัน


เพลงพี่น้องกัน

บ้านของฉันอยู่ด้วยกันมากหลาย 
พ่อแม่ปู่ย่า ลุงป้าตายาย 
มีทั้งน้า  อา 
 พี่และน้องมากมาย 
ทุกคนสุขสบาย  เราเป็นพี่น้องกัน


ได้คะแนนเต็ม  5

ความประทับใจในการเรียนการสอน
  วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย  โดยอาจารย์  ผู้สอนอาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น

      ในการเรียนมา สนุกสนานและได้ความรู้ จากอาจารย์ผู้สอน การสอนที่เป็นกันเองเปิดโอกาสให้ถามและข้อสงสัยต่างๆ การอธิบายอย่างเข้าใจ เพื่อนๆทุกคนก็น่ารักกันทุกคนมีความสามัคคี กัน มีความยุติธรรม เเละพูดปรึกษากันได้ตลอด ต้องขอบคุณอาจารย์มากๆนะคะ ที่ให้ความรู้กับพวกเราอย่างเต็มที่ เวลาเรียนกับอาจารย์มีแต่รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ สนุกสนานมากคะ 


                         ขอบคุณมากๆคะ   จบแล้วนะ ปี 3 เย้ ๆ



 


                                      








บันทึกครั้งที่17

วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2558

                                               วิชา
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

          

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
                วัน/เดือน/ปี   21  เมษายน  2558  ครั้งที่ 17
               เวลาเข้าสอน  14.00 น. เวลาเรียน 14.10  น.
     เวลาเลิกเรียน 17.30 น.  


กิจกรรมภายในวันนี้

เนื้อหาและความรู้ที่ได้รับ

       วันนี้อาจารย์นำ สิ่งที่น่าสนใจมาทดลองเล่นกับนักศึกษา หลังจากที่หยุดเป็นเวลาหลายวัน อาจารย์ก็หาสิ่งเร้าวามสนใจมาให้นักศึกษาได้เล่น

     โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program)


แผน IEP

-แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
-เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
-ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก

-โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก

การเขียนแผน IEP


-คัดแยกเด็กพิเศษ

-ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
-ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด 
-เด็กสามารถทำอะไรได้  / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
-แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP

IEP ประกอบด้วย

-ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
-ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
-การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
-เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
-ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
-วิธีการประเมินผล

ประโยชน์ต่อเด็ก

-ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
-ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
-ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
-ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ

ประโยชน์ต่อครู

-เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
-เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
-ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
-เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
-ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง

-ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
-ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
-เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล

1. การรวบรวมข้อมูล


-รายงานทางการแพทย์

-รายงานการประเมินด้านต่างๆ 
-บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง

2. การจัดทำแผน

-ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
-กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
-กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
-จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

การกำหนดจุดมุ่งหมาย
   -ระยะยาว
   -ระยะสั้น
จุดมุ่งหมายระยะยาว

กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง
     -น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
      -น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
      -น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้

จุดมุ่งหมายระยะสั้น

-ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
-เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
-จะสอนใคร 
-พฤติกรรมอะไร 
-เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด) 
-พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน

ตัวอย่าง  เช่น

-ใคร          อรุณ
-อะไร         กระโดดขาเดียวได้
-เมื่อไหร่ / ที่ไหน กิจกรรมกลางแจ้ง
-ดีขนาดไหน               กระโดดได้ขาละ 5 ครั้ง ในเวลา 30 วินาที

-ใคร ธนภรณ์
-อะไร นั่งเงียบๆโดยไม่พูดคุย
-เมื่อไหร่ / ที่ไหน ระหว่างครูเล่านิทาน
-ดีขนาดไหน           ช่วงเวลาการเล่านิทาน 10 - 15 นาทีเป็นเวลา 5 วันติดต่อกัน

3. การใช้แผน

-เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
-นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
-แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
-จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
-ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง
    1.ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
    2.ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
    3.อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก

4. การประเมินผล 

-โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
-ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล

** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม
อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน**

การจัดทำ IEP



และวันนี้อาจารย์ได้สอน การเขียนแผน IEP

                                   ตัวอย่างแผน



  อาจารย์ให้จับกลุ่ม 5 คน และให้รวมกันเขียนแผน โดยการเลือกประเภท ความพิการ มา 1 หัวข้อ และช่วยกันทำ

ประเมินตนเอง 
    แต่งกายเรียบร้อย พูดบ่อยไปหน่อย ตั้งใจเรียนดี และช่วยเพื่อนทำงานได้ดี วันนี้เล่นและคุยบ่อยไป

ประเมินเพื่อนๆ 
  เพื่อนๆ บางคนก็พูดกันบ่อยมาก แต่ก็ตั้งใจเรียนสามารถเขียนแผนร่วมกันได้ทันเวลา ยิ้มแย้ม ร่าเริง แจ่มใส ทุกคน

ประเมินอาจารย์
    อาจารย์แต่งกายเรียบร้อยดี บุคลิกการนั่งและการยืนเหมาะสม อาจารย์ชอบหากิจกรรมมาให้ทำอยู่เสมอและชอบเล่าเรืื่องที่เป็นความรู้ให้นักศึกษาฟังเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต



















บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2558

                                          วิชา
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

          

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
                วัน/เดือน/ปี 14 เมษายน  2558  ครั้งที่ 16
               เวลาเข้าสอน  14.00 น. เวลาเรียน 14.10  น.
     เวลาเลิกเรียน 17.30 น.  


กิจกรรมภายในวันนี้

เนื้อหาและความรู้ที่ได้รับ

      วันนี้เป็นวัน  สงกรานต์ จึงไม่มีการเรียนการสอน 13-15 เป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์















บันทึกอนุทินครั้งที่14


                                            วิชา
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

          

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
                วัน/เดือน/ปี 7 เมษายน  2558  ครั้งที่ 14
               เวลาเข้าสอน  14.00 น. เวลาเรียน 14.10  น.
     เวลาเลิกเรียน 17.30 น.  


กิจกรรมภายในวันนี้

เนื้อหาและความรู้ที่ได้รับ

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน

      เป้าหมาย

       -การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้  
       -มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
       -เด็กรู้สึกว่า “ฉันทำได้”
       -พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น

       -อยากสำรวจ อยากทดลอง

ช่วงความสนใจ

         -ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ

         -จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร

การเลียนแบบ

การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
        -เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
        -เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่

        -คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่

การรับรู้ การเคลื่อนไหว

      ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น
                          .
                          .
                          .
                          . 
       ตอบสนองอย่างเหมาะสม

การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก


      -การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
      -ต่อบล็อก
      -ศิลปะ
      -มุมบ้าน

      -ช่วยเหลือตนเอง





ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ


    -ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
    -รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก


ความจำ

       -จากการสนทนา
       -เมื่อเช้าหนูทานอะไร
       -แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
       -จำตัวละครในนิทาน
       -จำชื่อครู เพื่อน
      -เล่นเกมทายของที่หายไป

ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ

     -จัดกลุ่มเด็ก
     -เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
     -ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
     -ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
     -ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
     -ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
     -บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
     -รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
     -มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
     -เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
     -พูดในทางที่ดี
     -จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
     -ทำบทเรียนให้สนุก

ประเมินตนเอง

    วันนี้ไม่สบาย จึงไม่สามารถมาเรียนได้แต่จะพยายามตามงานให้ทัน










บันทึกอนุทินครั้งที่13

วันจันทร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2558

                                           วิชา
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

          

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
                วัน/เดือน/ปี  31  มีนาคม  2558  ครั้งที่ 13
               เวลาเข้าสอน  14.00 น. เวลาเรียน 14.10  น.
     เวลาเลิกเรียน 17.30 น.  


กิจกรรมภายในวันนี้

เนื้อหาและความรู้ที่ได้รับ

   วันนี้อาจารย์ให้ไปช่วยกันจัดกิจกรรม กีฬาสี ช่วยกันทำภู่ และจัดสแตน ให้เรียบร้อย เพราะจะแข่งกันวันที่ 1 เมษายน 2558

                                   เดินขบวนกีฬาสี





\




































บันทึกอนุทินครั้ง 12

วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2558

                                         วิชา
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

          
 
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
                วัน/เดือน/ปี  23  มีนาคม  2558  ครั้งที่ 12
               เวลาเข้าสอน  14.00 น. เวลาเรียน 14.10  น.
     เวลาเลิกเรียน 17.30 น.  


กิจกรรมภายในวันนี้

เนื้อหาและความรู้ที่ได้รับ

      วันนี้   สอบเพื่อวัดความรู้เดิม จากที่เรียนมาของรายวิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ  เพื่อจะเป็นแนวทางในการสอนเด็กพิเศษ เน้นความรู้ความจำในการดูแลเด็กและการช่วยเหลือเด็กได้


ประเมินตนเอง

        อ่านและทำข้อสอบอย่างสงบ  แต่งกายเรียบร้อย มาทันเวลาที่สอบ ตั้งใจทำข้อสอบ 

ประเมินเพื่อนๆ

       เพื่อนๆนั่งสอบอย่างสงบ เรียบร้อย  ไม่ลอกกันต่างคนต่างตั้งใจทำข้อสอบของตัวเอง


ประเมินอาจารย์ 

  อาจารย์ติดธุระจึงให้อาจารย์ สาขามาคลุมสอบแทน อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย ดูแลนักศึกษาในช่วงสอบได้อย่างเรียบร้อย












บันทึกอนุทินครั้งที่11

วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2558

                                                วิชา
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

          
   
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
                วัน/เดือน/ปี  17  มีนาคม  2558  ครั้งที่ 11
               เวลาเข้าสอน  14.00 น. เวลาเรียน 14.10  น.
     เวลาเลิกเรียน 17.30 น.  


กิจกรรมภายในวันนี้

เนื้อหาและความรู้ที่ได้รับ

     วันนี้อาจารย์ แจกสีไม้ให้คนละ 1 กล่อง และแจกแผ่นเพลงให้คนละ 1 แผ่นเพื่อที่จะได้ไปฝึกร้อง และอาจารย์ก็พาทำกิจกรรมเร้าความสนใจ ก่อนเข้าเรียน  และ สอนเรื่องการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ ตอน ทักษะการช่วยเหลือตนเอง

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

3.ทักษะการช่วยเหลือตนเอง

       เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด การกินอยู่ การเข้าห้องน้ำ การแต่งตัว กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน

การสร้างความอิสระ


     -เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
     -อยากทำงานตามความสามารถ

     -เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
-การได้ทำด้วยตนเอง
-เชื่อมั่นในตนเอง
-เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
หัดให้เด็กทำเอง

-ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)

-ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป

-ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ

-“ หนูทำช้า ”  “ หนูยังทำไม่ได้ ” 
จะช่วยเมื่อไหร่

-เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย

-หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว

-เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ

-มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 2-3 ปี)







ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง

-แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ 
-เรียงลำดับตามขั้นตอน

การเข้าส้วม

-เข้าไปในห้องส้วม
-ดึงกางเกงลงมา
-ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
-ปัสสาวะหรืออุจจาระ
-ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
-ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
-กดชักโครกหรือตักน้ำราด
-ดึงกางเกงขึ้น
-ล้างมือ
-เช็ดมือ
-เดินออกจากห้องส้วม

การวางแผนทีละขั้น

-แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด



สรุป

-ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
-ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
-ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
-ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
-เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ

กิจกรรมบำบัด
           อาจารย์แจกอุปกรณ์ กระดาษและสีเเล้วให้ระบายจุดตรงกลางและวนไปรอบๆเรื่อยๆแล้วแต่ความถี่ ความกว้างของแต่ละคน พอเสร็จแล้วก็ตัดกระดาษตามรูปวงกลม




ตัดกระดาษ






อาจารย์ให้นำรูปที่ตัดแล้วมาติดรวมกันเป็นต้นไม้
ต้นไม้แห่งจิตใจ


 ภาพที่สำเร็จ




กิจกรรม วงกลมจิตใจ
คือ  การแสดงถึงความรู้สึกนึกคิดของแต่ละคนจากการระบายสีและความกว้างความถี่ของวงกลม 
จุดที่สีอ่อนๆ คือ จิตใจที่อ่อนโยน
จุดที่เข้มๆ คือ เก็บกดในใจ 
ระบายกว้างๆ คือ ความเอื้อเฟื้อ มีเมตตา
ระบายแคบๆ คือ คิดเล็ก คิดน้อย 



         อาจารย์ให้นำรูปที่ตัดแล้วมาติดรวมกันเป็นต้นไม้
ต้นไม้แห่งจิตใจ



ประโยชน์จากการจัดกิจกรรม

-ฝึกสมาธิ
-มิติสัมพันธ์
-ความรู้สึกของเด็ก
-จินตนาการความคิดสร้างสรรค์



                              เพลง นกกระจิบ

นั่นนก บินมาลิบลิบ
นกกระจิบ 1  2  3  4  5
อีกฝูงบินล่องลอยมา  6 7 8 9 10 ตัว

เพลง เที่ยวท้องนา 

ฉันท่องเที่ยวไป
ผ่านตามท้องไร้ท้องนา
เห็นฝูงวัวกินหญ้า 1 2  3  4  5  ตัว
หลงเที่ยวเพลิดเพลิน
ฉันเดินพบอีกฝูงวัว
นับนับดูจนทั่ว 6 7 8 9 10 ตัว

เพลง  แม่ไก่ออกไข่

แม่ไก่ออกไข่วันละฝอง
ไข่วันละฟอง  ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน
1 วันได้ไข่  1ฟอง

เพลง  ลูกแมวสิบตัว

ลูกแมว 10 ตัวที่ฉันเลี้ยงไว้
น้องขอให้แบ่งไป 1 ตัว
ลูกแมว 10 ตัวก็เหลือน้อยลงไป
นับดูใหม่เหลือลูกแมว 9 ตัว

เพลง ลุงมาชาวนา

ลุงมาชาวนาเลี้ยงวัว เลี้ยงควาย
เอาไว้ใช้ไถนา
ลุงมาชาวนาเลี้ยงหมา เลี้ยงแมว
ไว้เป็นเพื่อนลุงมา
หมาก็เห่า บ๊อก  บ๊อก
แมวก็ร้อง  เมี๊ยว  เมี๊ยว
ลุงมาไถนา วัวร้อง มอ มอ

(ซ้ำ *)


                                            ผู้แต่ง อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
                                              เรียบเรียง  อ.ตฤณ  แจ่มถิน


ประเมินตนเอง

แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์ แล้วทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนได้อย่างมีความสุข หัวเราะ ยิ้มแย้ม   ร่าเริง กับอาจารย์และเพื่อนๆ แต่พูดบ่อยไปนิดนึง

ประเมินเพื่อนๆ

เพื่อนๆแต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียนดี ฟังอาจารย์ ยิ้มแย้มร่าเริง ตลกกันดี และร่วมกันแสดงความคิดเห็นถึงเรื่องต่างๆได้ดี ทำกิจกรรมร่วมกันได้อย่างมีความสุข

ประเมินอาจารย์ 

อาจารย์น่ารัก แต่งกายเรียบร้อย  พูดจาอ่อนหวาน สุภาพพาทำกิจกรรมที่สนุกสนาน  และแสดงบทบาทได้เหมือนมากๆ ชอบหาอะไรที่ใหม่ๆและความรู้ต่างๆมาทำในห้องเรียนเสมอๆ